อีเมล์ :
รหัสผ่าน :
ลืมรหัสผ่าน
 
ปรับขนาดตัวอักษร
ภาษา
อื่นๆ
ข้อมูลสภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน
ด้านสังคม
- จำนวนชุมชน 31 ชุมชน ดูรายชื่อแต่ละชุมชนที่นี่
- จำนวนบ้าน 51,625 หลังคาเรือน
- จำนวนประชากรในชุมชน 87,985 คน
ศาสนา
- วัด จำนวน 7 วัด
- ผู้นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 71.50 ของจำนวนประชากรทั้งหมด
- มัสยิด จำนวน 7 แห่ง
- ผู้นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 27.50 ของจำนวนประชากรทั้งหมด
- โบสถ์ จำนวน 2 แห่ง
- ผู้นับถือศาสนาคริสต์ ร้อยละ 0.80 ของจำนวนประชากรทั้งหมด
- ผู้นับถือศาสนาอื่น ๆ ร้อยละ 0.20 ของจำนวนประชากรทั้งหมด
- ผู้ที่ไม่นับถือศาสนาใดเลย ร้อยละ - ของจำนวนประชากรทั้งหมด
วัฒนธรรม
ประเพณีท้องถิ่นที่สำคัญ (เรียงตามลำดับความสำคัญมากที่สุดไปหาน้อยที่สุด)
1. ประเพณีวันกองข้าว กำหนดจัดขึ้นในเดือนเมษายน
กิจกรรมโดยสังเขป ประเพณีวันกองข้าว เป็นประเพณีของชาวตำบลหนองปรือที่มีมา ตั้งแต่โบราณ ที่จัดขึ้นเป็นประจำในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ซึ่งเป็นพิธีกรรมที่ชาวบ้านจะทำอาหาร ทั้งคาวและอาหารหวาน มาร่วมกันบวงสรวงภูตผี เทวดา และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่แต่ละพื้นที่ที่นับถือ โดยในประเพณีมีการละเล่นแต่งกายเป็นยมบาล ภูตผี เทวดา นางฟ้า เพื่อสร้างคติสอนใจในเรื่องบาป บุญคุณโทษ และยังเป็นการสร้างความสามัคคีในชุมชนตลอดจนสถาบันครอบครัวอีกด้วย
2. ประเพณีลอยกระทง กำหนดจัดขึ้นในเดือนพฤศจิกายน
กิจกรรมโดยสังเขป มีการจัดสถานที่ให้ประชาชนได้ร่วมประเพณีลอยกระทง ณ สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ 82 พรรษา ภูมิพลมหาราชา และรอบอ่างเก็บน้ำชากนอก และวัด ในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองหนองปรือร่วมจัดงานด้วยเช่นกัน ทั้งวัดสุทธาวาส วัดหนองปรือ วัดเขา โพธิ์ทอง และวัดสามัคคีประชาราม
3. ประเพณีแห่เทียนเข้ำพรรษา กำหนดจัดขึ้นในเดือนกรกฎาคม
กิจกรรมโดยสังเขป ทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในสังกัดเทศบาลเมืองหนองปรือ และโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ร่วมพิธีแห่เทียนพรรษา ณ วัดสุทธาวาส และเดินขบวนไปถวายเทียนให้กับวัดต่างๆ ในเขตเทศบาลเมืองหนองปรือ
4. ประเพณีบายศรีสู่ขวัญ กินข้าวปุ้น บุญผะเหวด เทศน์มหาชาติกำหนดจัดขึ้นในเดือนมีนาคม
กิจกรรมโดยสังเขป เป็นประเพณีที่จัดขึ้นโดยชาวอีสานในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองหนองปรือ มีการจัดตกแต่งศาลาหรือสถานที่ที่จะทำบุญ จัดเตรียมเครื่องสักการะ ดอกไม้ ธูปเทียน ข้าวตอก มีการตั้งธงใหญ่ไว้แปดทิศ และศาลาการเปรียญจะแขวนผ้าผะเหวด และมีการแห่พระเวสสันดร ชาดก โดยทำเป็นขบวนแห่ มีการประดับตกแต่งขบวนแห่แต่ละขบวนให้มีความสวยงามและเป็นเรื่องราวของพระเวสสันดร
5. การบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน กำหนดจัดขึ้นในเดือนเมษายน
กิจกรรมโดยสังเขป จัดพิธีบรรชาสามเณร ณ วัดหนองปรือ และวัดเขาโพธิ์ทอง ให้กับเด็ก และเยาวชน เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้ใช้เวลาว่างในช่วงดังกล่าวมาฝึกอบรมกาย วาจา ใจ ศึกษาไตรสิกขา และเรียนรู้หลักธรรมในพระพุทธศาสนาเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาชีวิตต่อไป
6. ประเพณีสุหนัตหมู่ของชำวมุสลิมตำบลหนองปรือ กำหนดจัดขึ้นในเดือนเมษายน
กิจกรรมโดยสังเขป ตามความเชื่อของชาวมุสลิม การเข้าสุหนัตหรือมาโช๊ะยาวีเป็นการ ชำระสิ่งสกปรกทางร่างกายอย่างหนึ่ง เพราะก่อนการละหมาดจะต้องมีการชำระล้างร่างกายด้วย น้ำสะอาดแต่บริเวณหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศคือแหล่งสะสมเชื้อแบคทีเรีย จึงต้องทำการขลิบเพื่อ การละหมาดอันบริสุทธิ์ โดยในวันพิธีจะแต่งตัวให้เด็กอย่างสวยงาม (มงกุฎ กรองคอ สนับเพลา ก่อนงานเริ่มจะให้เด็กขึ้นขี่คอ แล้วแห่รอบพาไล รุ่งขึ้นแห่ช้าง แล้วให้เด็กกินขนมขวัญที่ ประกอบด้วย กะละมา ขนมลา ข้าวพอง ขนมก้อ ข้าวเหนียวหวาน แล้วเสี่ยงทายให้เด็ก หลังจากนั้นจะขลิบปลายอวัยวะเพศด้วยมีดหมอ
7. พิธีถือศีลอด หรือเดือนรอมฎอนของชาวมุสลิม กำหนดจัดขึ้นระหว่างเดือนกันยายน - ตุลาคม
กิจกรรมโดยสงัเขป การถือศีลอดตามความหมายทางศาสนาของอิสลาม คือการงดเว้น จากการกิน การดื่ม การเสพ และการมีความสัมพันธ์ทางเพศ ตั้งแต่ดวงอาทิตย์ขึ้นจนดวง อาทิตย์ตกตลอดทั้งเดือนรอมฎอนของทุกปี ซึ่งอาจจะมีระยะเวลา 29 หรือ 30 วัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ ผู้ถือศีลอดได้สัมผัสและรับรู้ถึงความทุกข์ยากลำบาก ได้เรียนรู้ถึงอุปสรรคต่างๆ ของการดำเนินชีวิต
1
2
3
4
5
6
7
8